Posts tagged ‘ช่วยน้องสอนเรา’

ช่วยน้อง สอนเรา : แม่และลูก


ความรักระหว่างแม่กับลูก
=================
ผมเคยมองดูชีวิต ของ มนุษย์ และ พบว่า คนเราล้วนเกิดมา เพื่อทำหน้าที่ ที่ ธรรมชาติได้กำหนด

แม่เมื่อให้กำเนิดบุตร ก็จะเลี้ยงดู ประคบประหงม ให้ลูกน้อย ได้เติบใหญ่ กลายเป็น ผู้ใหญ่ที่ดูแลตัวได้…

เมื่อวันเวลามาถึง ลูกก็จะกลับมาทำหน้าที่ พ่อแม่ที่ดีดูแลลูกอีกรุ่นต่อไป …รวมถึง กลับมาดูแล พ่อแม่ของตนด้วยเช่นกัน

ผมกับทีมเดินทางมาถึงบ้านหลังนี้ … แล้วก็เดินมาเห็นสภาพความเป็นอยู่ของ ครอบครัว เสนนอก

คุณยายสมหวัง เสนนอก อายุ 73 ปี อยู่ในความดูแลของ พี่สายม่าน เสนนอก อายุ 53 ปี

ลูกสาวพี่สายม่าน เข้ามาทำงานเย็บผ้าที่กรุงเทพฯ และ ส่งเงินมาให้แม่ และ ยายใช้จ่าย เดือนละสามพัน ซึ่ง เงินส่วนนึง พี่สายม่านจะ นำมาซื้อยา ที่ต้องใช้ แม้แต่ ยาสวน สำหรับการขับถ่ายปกติ ก็ต้องซื้อเดือน ละหลายร้อย เหลือไว้กินและใช้จ่ายอื่นๆ ก็ไม่มากนัก

ความเป็นอยู่แบบนี้ เริ่มขึ้นเมื่อ คุณยายสมหวัง เกิดอาการ ความดันขึ้นและเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อหกปีก่อน หลังจากนั้น ก็ไม่สามารถเดิน และ ช่วยเหลือตัวเองได้

พี่สายม่านจึงได้ดูแล มาตลอด …

บริเวณที่อยู่ของ ยายสมหวัง เป็นดังภาพที่เห็น ความสูงของเพดานไม่สูงมาก ทำให้ผมต้องก้มตัวลง เมื่อตอนที่เข้าไปพบ

เรื่องราวหลายอย่างพรั่งพรู จากปากพี่สายม่าน …เราเองเห็นแล้วก็นึกสงสารในชะตากรรมของแม่ลูกคู่นี้

และ นี่คือบ้านที่สี่ที่เราตั้งใจจะแวะเข้าไปครับ

ช่วยน้อง สอนเรา: ผีเสื้อที่บอบบาง


จิตใจที่เข้มแข็งภายใต้ร่างกายที่บอบบาง
=========================
ผมรับทราบจากผู้ใหญ่บ้าน ว่ามีน้องที่เป็น “เด็กดักแด้” อยู่คนนึง ตอนแรกนึกว่ายังเป็นเด็กเล็กๆ

พอได้เจอกับน้อง จึงรู้ว่า น้องโตเป็นสาวแล้ว …ผมขอเรียกเธอว่า น้องฟ้า ละกันนะครับ

น้องฟ้า อายุ 23 ปี แล้ว .. เป็นเด็กดักแด้ตั้งแต่เกิด ผมเองลองค้นดู จึงพอทราบ ถึงที่มาของโรคนี้อย่างคร่าวๆ

โรคนี้เป็นโรคที่สืบกันทางกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ มีทั้งกลุ่ม Ichthyosis group (อิก-ไท-โอ-ซิส) และ Epidermolysis Bullosa (EB) อันแรกพบไม่บ่อย ส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มหลัง

ความผิดปกติของเด็กดักแด้จะอยู่ที่เซลล์ผิวหนัง ปกติเซลล์ผิวหนังจะแบ่งตัวและเคลื่อนตัวขึ้นมาเปลี่ยนเป็นหนังกำพร้า และหนังกำพร้าจะถูกย่อยให้ละเอียดลงและหลุดออกไปเป็นหนังขี้ไคล แต่ในเด็กดักแด้ชั้นหนังกำพร้าจะไม่ยอมย่อย จะแข็งติดอยู่ ก็เลยทำให้หนาขึ้นเรื่อย ๆ

อันตราย ของเด็กดักแด้ คือ เมื่อหนังแห้งจะตึง และหดตัว ตอนแรกผิวหนังก็ชุ่มฉ่ำเพราะยังอยู่ในน้ำคร่ำ

พอคลอดออกมาโดน อากาศผิวหนังจะแห้ง พอผิวหนังแห้งจะเกิดการรัดตัว หดตัว
และดึงทุกส่วนที่เป็นช่องเปิดเช่น ตา หนังเยื่อบุตาจะปลิ้นออกมา ดึงตรงปากเยื่อ บุปากก็จะปลิ้นออกมาทำให้เกิดปัญหา ตาปิดไม่สนิท เกิดการระคายเคือง แก้วตาขุ่นมัว หรือ ถ้าปากปลิ้นก็จะทำให้เด็กดูดนม ดูดน้ำไม่ได้

เด็กดักแด้ที่อาการไม่ รุนแรงสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ แต่เขาจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและสูญเสียความร้อนทางผิวหนังได้ง่าย

ผมเจอน้องฟ้า น้องฟ้าผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากของชีวิตมาแล้ว 23 ปี การพูดการจาของน้องฟ้าเป็นคนปกติเหมือนเราๆ ท่านๆ ผมเอง ว่า กริยามารยาทออกจะน่ารัก และ ความคิดความอ่านดูมีเหตุมีผลดี

น้องบอกว่า เรียนจบแล้วตอนนี้อยู่บ้านเฉยๆ เพราะ ไปทำงานที่ไหน ก็ไม่มีใครรับ ใจเอง อยากมีชีวิตเหมือนคนปกติเค้า … ไม่อยากเก็บตัวอยู่กับบ้านแบบนี้ แต่ ก็เข้าใจที่คนส่วนใหญ่เมื่อพบ ก็จะรู้สึกกลัว …

เหมือนที่ผมเคยดูในหนัง เรื่อง Transcendence ที่มีคำกล่าวอยู่หนึ่งคำที่ผมชอบมากคือ … “มนุษย์จะกลัว..ในสิ่งที่ไม่เข้าใจ”

ผมและพี่ๆ ที่มา survey ครั้งนี้ เข้าใจ ในตัวน้องฟ้า ครับ และ อยากเป็นกำลังใจให้น้องฟ้า แม้จะกำลังใจเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็อยากให้รู้ว่า … ในสังคมของเรานี้ .. ก็มีอีกหลายคน ที่ อยากที่จะแบ่งปัน ความสุข ให้กัน …

ถึงแม้จะเป็น่ส่วนน้อยๆ แต่ รวมๆ กัน ก็ช่วยให้วันนั้น เป็นวันหนึ่ง ที่มีความสุข ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม

http://www.inderm.go.th/inderm_sai/health1.html

ช่วยน้อง สอนเรา : น.ส.ละมูน


น.ส.ละมูน
=======
กลุ่มพวกเราเดินออกจากบ้านน้องฟ้า …และ มุ่งหน้าไปยังบ้านหลังถัดไป ..
เสียงอาการดีใจ ทีมีคนเดินเข้ามา …ดังออกมาจากด้านหลังบ้าน

น้องละมูน บัวจันทร์ อายุ 32 ปี นั่งอยู่บนเสื่อ ข้างข้างคุณแม่ ชื่น บัวจันทร์ อายุ 57 ปี…

พวกเราทักทายพูดคุยกับ น้องละมูน แต่ ดูเหมือน การสื่อสารระหว่างเรา ต้องให้แม่ชื่น มาช่วยแปล …น้องละมูน ไม่ใช่ว่าไม่รู้เรื่อง แต่ การควบคุมกล้ามเนื้อให้ออกเสียงนั้น ดูเหมือนเป็นความยากเย็น

คุณแม่ชื่น เล่าว่า ตั้งแต่แต่งงานและได้น้องละมูน มาชีวิตของคุณแม่ก็เปลี่ยนไป เพราะ อาการพิการจาก ดาวน์ซินโดรม ของน้องละมูน นั้นทำให้ คุณแม่ไม่สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ เพราะต้องคอยอยู่ดูแล ลูกสาวคนนี้

จากที่เป็นแม่ ก็ต้องเป็นทั้ง ครู ทั้งเพื่อน ที่อยู่ด้วยกันทั้ง 24 ชั่วโมง ดูแลทุกอย่าง ทั้ง อาบน้ำ หาข้าวให้ทาน จนกระทั่งการขับถ่าย

เห็นภาพอย่างนี้แล้ว นึกถึง หัวอกคนเป็นพ่อแม่ ที่ยังไงก็ไม่เคยทิ้งลูก สะท้อนให้พวกเราต้องคิดถึงการดูแลพ่อแม่ของเราที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ดีเช่นกัน …

เดินออกจากบ้านน้องละมูนแล้ว…รู้สึกซึมๆ อย่างไรก็ไม่รู้

ช่วยน้อง สอนเรา : ยายคำใส บ้านแรก


ตอนแรกที่พี่เชียร สันดาน สันจร และ พี่อ๊อด Visoot Onlamai ชวนผมไป survey ผมปฏิเสธเสียงแข็ง .. เพราะ มันไกลเหลือเกิน ประกอบกับงานที่ยังล้นมืออยู่
…”มันไกลมากนะ ขอนแก่น ผมไปตอนทำบุญเลยไม่ได้เหรอ…” ผมบ่นทางโทรศัพท์กับพี่เชียร

“ผมอยากให้พี่ป๋องมา … มาช่วยกันดู มาช่วยกันเลือก” พี่เชียรบอก
“เลือกมาเลย ก็ดูที่เค้าช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้ ก็แล้วกันนะ เรี่ยวแรงดี มีญาติดู ก็ไม่ต้องเอาหรอก ..เพราะเงินเราก็ไม่ได้มากมายอะไร ” ผมบอกพี่เชียร แถมจะสั่งกลายๆ

“พี่ป๋องต้องมา … สะดวกมาวันไหน บอกผม ผมไปได้ทุกวันที่พี่สะดวก …” พี่เชียรบอก โดนไม้นี้ ผมเลยต้องจัดงานใหม่ โชคดีผมมีงานอยู่โคราช เลย ไปทำงานก่อนแล้วก็ลางานวันศุกร์ เพื่อไป Survey กับ พี่เชียร

พี่เชียร พี่อ๊อด ชวนพี่ โอเล่ คนพื่นที่ มารับผมที่โรงแรมในโคราช ตั้งแต่ เจ็ดโมงเช้า …ที่ต้องเช้า เพราะการ survey ไม่ใช่ง่าย ทั้งการเข้าไปหาแต่ละบ้าน การพูดคุย สอบถาม บ้านนึงไม่ใช่แป๊บเดียวเสร็จ ดังนั้น บวกการเดินทาง จากโคราช ไปขอนแก่น ไปและ เดินทางกลับกรุงเทพฯในวันเดียวกันด้วยแล้ว งานนี้ มีดึกเหมือนกัน

พี่โอเล่ ผมก็เพิ่งเจอครับ งานนี้ ใจดีเอารถ Fortuner ของแก พาพวกเราวิ่งเข้าไป ที่ ละหานนา …ระหว่างทางก่อนเข้าทางลูกรัง เหลือบเห็น ที่พัก ชื่อ โนบิตะ ก็เลย เข้าไป สอบถาม ได้ความว่า มีอยู่ไม่ถึง สิบห้อง ห้องละ 800 ต่อคืน …

ออกจาก โนบิตะ ก็วิ่งเข้า ไปที่ละหานนา เลยครับ เส้นทางลูกรังประมาณ 5 km สำหรับ คน Classic แบบพี่เชียร นี่ ถือว่าแกชอบมาก … ส่วนผมน่ะ ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะ ชอบสำอาง ไม่ชอบเลอะเทอะ … โดนพี่เชียร หลอก เอ้ย ชวนไปขี่ เลอะๆเทอะๆ สองสามรอบก็สนุกดี ..ไม่ได้ชื่นชอบขนาด ต้องออก KLX มาขี่เหมือนหลายๆ คน …เพราะ ประเมินแล้วสังขารตัวเองคงขี่ได้ไม่กี่น้ำ … เพราะ หลังที่เคยผ่ามา อาจจะเดี้ยงก่อนเวลาอันควร

ผู้ใหญ่บ้าน มาด้วยกัน สองหมู่เลยครับ มี ผู้ใหญ่ หนำ อยู่หมู่ 4 กับ ผู้ใหญ่ยุทธนา อยู่หมู่ 15 มาช่วยกันพาไป ….
ผมเลยรู้เลยว่า จะเป็นผู้ใหญ่บ้านนี่ ต้องรู้ความเป็นไป ลูกบ้านหมดเลย ใครเป็นอะไรต้องรู้ และ ต้องเยี่ยมลูกบ้านเป็นกิจวัตร

สองข้างทางที่มองเห็น ทำให้ผมนึกภาพ บ้านนอกที่เคยไป สมัยเด็กๆ ไม่น่าเชื่อว่า เมืองไม่ห่างจาก เมืองใหญ่อย่างที่นี่ ยังคงสภาพ ชนบทได้อย่างครบถ้วน ตามถนน มีขี้วัว ขี้ควายเป็นกองๆ … classic มาก

บ้านแรกที่เราไปเยี่ยม เป็นบ้านของ ยาย คำไสครับ

ยายคำไส ป่วยเป็นเบาหวาน และ โรคความดัน ด้วยอายุ ที่สูงถึง 77 ปี และไม่มีคนดูแล ทำให้สภาพความเป็นอยู่แกไม่ดีเอาเลย

ยายอยู่ในบ้านคนเดียว … ผมถ่ายภาพมา เพื่อไม่ให้ต้องจินตนาการคำว่าบ้าน ของยายเค้าครับ …ผมว่าอาจจะเป็นคนละความหมายของคำว่าบ้านของใครหลายๆ คนในเมืองหลวง

 

ยายใส่เสื้อผ้าเก่าๆ เครื่องนอนขาดๆ ห้องน้ำที่ใช้ ต้องขอบอกว่า โทรมมาก ประตูปิดก็ไม่ได้ เรียกได้ว่า ปัจจัยในการดำรงชีวิต ของ ยาย ไม่ได้สวยงามเลย

แต่ถึงกระนั้น ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้ ยายทุกข์ ยายยังยิ้ม อารมณ์ดี และ มีความใจสู้อย่างมาก

ผมกับพี่เชียร พี่อ๊อด อยู่พูดคุยกับยาย อย่างสนุกสนาน ..เราพยายามสร้างบรรยากาศการมาเยี่ยมให้ดี สิ่งบันเทิงของยาย เป็นเสียงหรีดหริ่งเรไร เพราะยาย ไม่มี ทีวี หรือ แม้แต่พัดลม

เราเดินออกมาจากบ้านยาย แล้วบอกว่า นี่แหล่ะ รายแรกที่เราจะมาช่วยกัน ….

ช่วยน้อง สอนเรา : ที่มา


หลังจากที่ได้ร่วมกับพี่เชียร สันดาน สันจร และ พี่อ๊อด Visoot Onlamai แห่งกลุ่ม ลมโชย จัดขี่รถทำบุญรอบที่แล้วที่ ฉะเชิงเทรา ปรากฏว่า ผู้คนให้การตอบรับด้วยดีมากๆ

(ดูรายละเอียด https://www.facebook.com/events/638226986261015/)

คุยกันแล้วก็เลยอยากจะจัดกันอีกครั้ง โดยครั้งนี้ เปลี่ยนทิศจาก ตะวันตก มาเป็น ตะวันออกเฉียงเหนือ โดย เล็งมาที่ จ.ขอนแก่น

ปกติแล้วขี่รถระยะนี้ ก็ถือว่าไม่มากสำหรับ ทริปหนึ่งวัน หนึ่งคืน พอมาเป็นการทำบุญด้วย ทีมงานก็เลยถือว่า คงไม่เป็นอุปสรรคกับ Rider ทั้งหลายเช่นกัน

1 สิงหา 14 ทางทีมสำรวจ ก็เข้าพื้นที่เพื่อตรวจดูว่า คนด้อยความสามารถที่เราได้รับแจ้งนั้น “ผ่าน”เกณฑ์ของเราหรือไม่ ผลปรากฏว่า ผ่าน ครับ สมควรช่วยเหลือท่านเหล่านั้นได้ โดยมีถึง เจ็ดราย ….

ทริปนี้แตกต่างจากคราวที่แล้ว เพราะ รอบที่แล้วนี่เช้ายันเย็นเลย …เพลียมาก มาเที่ยวนี้ ด้วยระยะ เราเลย จัดเป็น ค้างหนึ่งคืน …แต่ก็เป็นการค้างแบบ Classic นะครับ เพราะ คงนอนกันแบบ พอเพียง ไม่ได้เป็น resort หรู แต่จะจัดหาที่พักกันใน โรงเรียน ที่อยู่ในหมู่บ้านนั่นเอง (ใครมีเต๊นท์ ติดมาได้ครับ ได้อีกบรรยากาศ)

เนื่องจากเรามากันสองวัน ดังนั้น นอกจากช่วยคน เหมือน ทริปที่แล้วแล้ว เราก็ มาช่วยน้อง โดยการช่วยเหลือ โรงเรียน ด้วย ส่วนกิจกรรม ตอนนี้ ก็กำลัง คุยกันอยู่ครับ ว่า จะเลือกทำอะไรกันดี ที่เหมาะ เพราะ เห็นแล้วว่ามีหลายอย่างมาก ….

วันนี้เลย ทำกิจกรรม ขึ้นมาก่อนครับ เพื่อให้พี่ๆ ได้ click ไว้ จะได้ book วัน ในปฏิทินไว้ครับ ส่วนข้อมูลรายละเอียด ก็จะได้แจ้งให้ทราบในหน้ากิจกรรมนี้ต่อไป ครับ

หน้ากิจกรรมที่ว่า นี่อยู่ที่นี่ 

ส่วนหน้า Blog  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็มี

เสื้อที่ระลึก http://wp.me/p17DuY-ZD

ยายคำใส http://wp.me/p17DuY-ZF

น.ส.ละมูน http://wp.me/p17DuY-ZH

น้องฟ้า http://wp.me/p17DuY-ZJ

ยายสมหวัง http://wp.me/p17DuY-ZL
ยายดี อายุยืน  http://wp.me/p17DuY-ZN

พี่ทองสา http://wp.me/p17DuY-ZO

 

ช่วยน้อง สอนเรา: น.ส.ละมุน


น.ส.ละมูน
=======
กลุ่มพวกเราเดินออกจากบ้านน้องฟ้า …และ มุ่งหน้าไปยังบ้านหลังถัดไป ..
เสียงอาการดีใจ ทีมีคนเดินเข้ามา …ดังออกมาจากด้านหลังบ้าน

น้องละมูน บัวจันทร์ อายุ 32 ปี นั่งอยู่บนเสื่อ ข้างข้างคุณแม่ ชื่น บัวจันทร์ อายุ 57 ปี…

พวกเราทักทายพูดคุยกับ น้องละมูน แต่ ดูเหมือน การสื่อสารระหว่างเรา ต้องให้แม่ชื่น มาช่วยแปล …น้องละมูน ไม่ใช่ว่าไม่รู้เรื่อง แต่ การควบคุมกล้ามเนื้อให้ออกเสียงนั้น ดูเหมือนเป็นความยากเย็น

คุณแม่ชื่น เล่าว่า ตั้งแต่แต่งงานและได้น้องละมูน มาชีวิตของคุณแม่ก็เปลี่ยนไป เพราะ อาการพิการจาก ดาวน์ซินโดรม ของน้องละมูน นั้นทำให้ คุณแม่ไม่สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ เพราะต้องคอยอยู่ดูแล ลูกสาวคนนี้

จากที่เป็นแม่ ก็ต้องเป็นทั้ง ครู ทั้งเพื่อน ที่อยู่ด้วยกันทั้ง 24 ชั่วโมง ดูแลทุกอย่าง ทั้ง อาบน้ำ หาข้าวให้ทาน จนกระทั่งการขับถ่าย

เห็นภาพอย่างนี้แล้ว นึกถึง หัวอกคนเป็นพ่อแม่ ที่ยังไงก็ไม่เคยทิ้งลูก สะท้อนให้พวกเราต้องคิดถึงการดูแลพ่อแม่ของเราที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ดีเช่นกัน …

เดินออกจากบ้านน้องละมูนแล้ว…รู้สึกซึมๆ อย่างไรก็ไม่รู้

สนใจรายละเอียด และ เข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ 

https://www.facebook.com/events/318772674954994/

ช่วยน้อง สอนเรา : บ้านแรก


บ้านแรก
======
ตอนแรกที่พี่เชียร สันดาน สันจร และ พี่อ๊อด Visoot Onlamai ชวนผมไป survey ผมปฏิเสธเสียงแข็ง .. เพราะ มันไกลเหลือเกิน ประกอบกับงานที่ยังล้นมืออยู่

…”มันไกลมากนะ ขอนแก่น ผมไปตอนทำบุญเลยไม่ได้เหรอ…” ผมบ่นทางโทรศัพท์กับพี่เชียร
“ผมอยากให้พี่ป๋องมา … มาช่วยกันดู มาช่วยกันเลือก” พี่เชียรบอก
“เลือกมาเลย ก็ดูที่เค้าช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้ ก็แล้วกันนะ เรี่ยวแรงดี มีญาติดู ก็ไม่ต้องเอาหรอก ..เพราะเงินเราก็ไม่ได้มากมายอะไร ” ผมบอกพี่เชียร แถมจะสั่งกลายๆ
“พี่ป๋องต้องมา … สะดวกมาวันไหน บอกผม ผมไปได้ทุกวันที่พี่สะดวก …” พี่เชียรบอก โดนไม้นี้ ผมเลยต้องจัดงานใหม่ โชคดีผมมีงานอยู่โคราช เลย ไปทำงานก่อนแล้วก็ลางานวันศุกร์ เพื่อไป Survey กับ พี่เชียร

พี่เชียร พี่อ๊อด ชวนพี่ โอเล่ คนพื่นที่ มารับผมที่โรงแรมในโคราช ตั้งแต่ เจ็ดโมงเช้า …ที่ต้องเช้า เพราะการ survey ไม่ใช่ง่าย ทั้งการเข้าไปหาแต่ละบ้าน การพูดคุย สอบถาม บ้านนึงไม่ใช่แป๊บเดียวเสร็จ ดังนั้น บวกการเดินทาง จากโคราช ไปขอนแก่น ไปและ เดินทางกลับกรุงเทพฯในวันเดียวกันด้วยแล้ว งานนี้ มีดึกเหมือนกัน

พี่โอเล่ ผมก็เพิ่งเจอครับ งานนี้ ใจดีเอารถ Fortuner ของแก พาพวกเราวิ่งเข้าไป ที่ ละหานนา …ระหว่างทางก่อนเข้าทางลูกรัง เหลือบเห็น ที่พัก ชื่อ โนบิตะ ก็เลย เข้าไป สอบถาม ได้ความว่า มีอยู่ไม่ถึง สิบห้อง ห้องละ 800 ต่อคืน …

ออกจาก โนบิตะ ก็วิ่งเข้า ไปที่ละหานนา เลยครับ เส้นทางลูกรังประมาณ 5 km สำหรับ คน Classic แบบพี่เชียร นี่ ถือว่าแกชอบมาก … ส่วนผมน่ะ ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะ ชอบสำอาง ไม่ชอบเลอะเทอะ … โดนพี่เชียร หลอก เอ้ย ชวนไปขี่ เลอะๆเทอะๆ สองสามรอบก็สนุกดี ..ไม่ได้ชื่นชอบขนาด ต้องออก KLX มาขี่เหมือนหลายๆ คน …เพราะ ประเมินแล้วสังขารตัวเองคงขี่ได้ไม่กี่น้ำ … เพราะ หลังที่เคยผ่ามา อาจจะเดี้ยงก่อนเวลาอันควร

ผู้ใหญ่บ้าน มาด้วยกัน สองหมู่เลยครับ มี ผู้ใหญ่ หนำ อยู่หมู่ 4 กับ ผู้ใหญ่ยุทธนา อยู่หมู่ 15 มาช่วยกันพาไป ….
ผมเลยรู้เลยว่า จะเป็นผู้ใหญ่บ้านนี่ ต้องรู้ความเป็นไป ลูกบ้านหมดเลย ใครเป็นอะไรต้องรู้ และ ต้องเยี่ยมลูกบ้านเป็นกิจวัตร

สองข้างทางที่มองเห็น ทำให้ผมนึกภาพ บ้านนอกที่เคยไป สมัยเด็กๆ ไม่น่าเชื่อว่า เมืองไม่ห่างจาก เมืองใหญ่อย่างที่นี่ ยังคงสภาพ ชนบทได้อย่างครบถ้วน ตามถนน มีขี้วัว ขี้ควายเป็นกองๆ … classic มาก

บ้านแรกที่เราไปเยี่ยม เป็นบ้านของ ยาย คำไสครับ
ยายคำไส ป่วยเป็นเบาหวาน และ โรคความดัน ด้วยอายุ ที่สูงถึง 77 ปี และไม่มีคนดูแล ทำให้สภาพความเป็นอยู่แกไม่ดีเอาเลย
ยายอยู่ในบ้านคนเดียว … ผมถ่ายภาพมา เพื่อไม่ให้ต้องจินตนาการคำว่าบ้าน ของยายเค้าครับ …ผมว่าอาจจะเป็นคนละความหมายของคำว่าบ้านของใครหลายๆ คนในเมืองหลวง
ยายใส่เสื้อผ้าเก่าๆ เครื่องนอนขาดๆ ห้องน้ำที่ใช้ ต้องขอบอกว่า โทรมมาก ประตูปิดก็ไม่ได้ เรียกได้ว่า ปัจจัยในการดำรงชีวิต ของ ยาย ไม่ได้สวยงามเลย
แต่ถึงกระนั้น ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้ ยายทุกข์ ยายยังยิ้ม อารมณ์ดี และ มีความใจสู้อย่างมาก
ผมกับพี่เชียร พี่อ๊อด อยู่พูดคุยกับยาย อย่างสนุกสนาน ..เราพยายามสร้างบรรยากาศการมาเยี่ยมให้ดี สิ่งบันเทิงของยาย เป็นเสียงหรีดหริ่งเรไร เพราะยาย ไม่มี ทีวี หรือ แม้แต่พัดลม
เราเดินออกมาจากบ้านยาย แล้วบอกว่า นี่แหล่ะ รายแรกที่เราจะมาช่วยกัน

สนใจดูรายละเอียด กิจกรรมทริปนี้ click เข้าร่วมที่ Link นี้เลยครับ 

https://www.facebook.com/events/318772674954994/

บ้านยายคำไส

ช่วยน้อง..สอนเรา


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พี่เชียร สันดาน สันจร คนที่ชอบหลอกให้ผมไปวิ่งทางวิบาก ให้รถเลอะเทอะ (และเป็นคนเดียวกับที่ชวนผมไปทำบุญช่วยคนที่แปดริ้วคราวที่แล้ว) โทรมาชวนผมไปขอนแก่น

“ไปทำไมเหรอพี่เชียร” ผมถาม เพราะ รู้สึกว่า ขอนแก่นไม่ไกล แต่ ไม่รู้มีอะไร

“ผมได้ทราบจากคนรู้จัก ว่า ที่ บ้านแวงน้อย ขอนแก่นโน่น มีคนป่วย คนที่ช่วยตัวเองไม่ได้อยู่ เลยอยากชวนพี่ป่องไปดู”… พี่เชียรบอก

“ผมไม่ไปได้เปล่าพี่ ช่วยอย่างอื่นเหอะ” ผมบอก เพราะ อยากไปทำอย่างอื่นมากกว่า “พี่ก็ลองดูว่า เค้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จริงๆ และ สมควรที่เราจะเข้าไปช่วยก็พอ” ผมบอก

“ไม่ได้ครับ พี่ป๋องต้องไป จะได้ช่วยกันดู” พี่เชียร ยืนยัน และ นั่นเป็นการนัดหมายของเรา

============================

ตีห้าครึ่งของวันศุกร์ เสียงโทรศัพท์ดังที่หัวเตียง ผมงัวเงีย ตื่นขึ้นมา คว้าโทรศัพท์

“พี่ป๋องงงง ตื่นหรือยางงงง ” เสียงพี่เชียร ดังมาตามสาย

“ตื่นเพราะเสียงโทรศัพท์นี่แหล่ะ…ทำไมโทรมาเช้าจัง นัดตั้ง เจ็ดโมงครึ่งไม่ใช่เหรอ” ผมงัวเงียต่อ เพราะเมื่อคืน นอนเกือบตีสอง

“ผมอาจจะไปหาเร็วขึ้นสักครึ่งชั่วโมง …เลยโทรมาปลุก” พี่เชียรบอก ผมเลยต้องลุก มาเตรียมของ
ผมล่วงหน้าจากกรุงเทพฯ มา โคราช เมื่อสองวันก่อน …โชคดี มี site งาน ทางสระบุรี กับ โคราชพอดี เลยจัดการเดินทางให้มาทำงาน ด้วย และ ก็มา สำรวจพื้นที่กับพี่เชียรด้วย … ตอนบอกพี่เชียรครั้งแรก พี่เชียรบ่นๆ เหมือนกัน แถมถามบ่อยๆว่า ทำไปโทรมาทีไร บอกแต่ว่า กำลังประชุม แกคงสงสัยว่า ประชุมกันตลอดเวลาเลยเหรอ แล้วจะเอาเวลาไหนทำงาน … เหอ เหอ ผมเลยกะว่า เวลาเหมาะๆ ค่อยอธิบายให้แกฟังอีกที

วันนี้คณะสำรวจเรา เป็นทีมงานจำเป็น เลยครับ แบ่งตำแหน่งงานกันเรียบร้อย ตั้งแต่ พี่เชียร แกตั้งตัวเอง ผู้จัดการ แกบอกว่า แกสั่งอย่างเดียว ไม่ทำ .. 555 พี่ โอเล่ เอา รถกะบะ สองตอนมาวิ่งรับส่งให้ พี่อ๊อด อันนี้เป็นหน่วยข้อมูลเลยครับ เก็บข้อมูลทุกอย่าง ผมเองที่ไม่ค่อยได้ทำอะไร แล้วก็ น้อง Sally ที่คอยบันทึกภาพ

สี่สหาย

หน้าสะพานไม้

การเดินทางวิ่งออกจากโคราช มาเกือบชั่วโมง แล้ว เลี้ยวออกจากทางหลักเข้าไป อีก 5 km ก็จะถึงที่ อ.แวงน้อย ตำบล.ละหานนา หมู่บ้านนี้ เข้าตำราว่า ชนบทได้จริงๆ ครับ แต่ก็ยังมีไฟฟ้าใช้ ไม่ถึงกับกันดาร มาก
เราแวะที่โรงเรียน ได้พบกับครูใหญ่ ครูเล็ก และ เด็กนักเรียนที่นี่ ที่มีอยู่ 90 คน ได้เห็นวิถีชีวิต และ ความเป็นอยู่ของเด็กๆ แล้ว นึกถึงตัวเอง วัยเด็ก …

ผมเองก็เคยเรียนหนังสืออยู่ต่างจังหวัด เคยตามแม่่ ไปตามถิ่นธุรกันดาร เคยสัมผัส ชีวิตบ้านนาแบบนี้ เลยทำให้วูบหนึ่งนึกถึงวันเก่าๆ

ตอนนี้มีชีวิตที่แตกต่างจากเดิม มีโอกาส ก็อยากทำอะไรกลับคืนไปบ้าง

ผมกับทีมงาน หารือกันว่า เราควรจะทำอะไรกันบ้างให้กับที่นี่ นอกเหนือจาก เป็นจุดหมายของการขี่รถหย่อนใจ อย่างที่เราทำๆ กัน โปรแกรมต่างๆ โดนจัดขึ้นมา คร่าวๆ ประมาณการกำลังกันแล้ว แผนงานก็โดนจัดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา…

ตอนเที่ยง เหล่านักเรียน เข้าแถวมารับอาหารกลางวัน นักเรียน นั่งทานกันกับพื้น เสียงสวดขอบคุณดังลั่น ก่อนลงมือจ้วงข้าวทานอย่างเอร็ดอร่อย … อาจารย์เชิญชวนพวกเราทานข้าวด้วย แต่ ต้องปฏิเสธ เพราะนัดกันไปทานที่ร้านในหมู่บ้าน เพราะนัดกับทาง ผู้ใหญ่บ้านมาคุยด้วย

ตอนบ่าย พวกเราตะเวณไปตามบ้านที่ผู้ใหญ่ พาไปดู แต่ละคนน่าสงสาร และ ่น่าเห็นใจ

พวกเรากลับมาเกือบมืด ร้อนจากไอแดด ความแห้งแล้งของอีสานช่่วงนี้ ทอนกำลังเราไปเยอะมากทีเดียว ..หลังจากนั่งหารือ กันถึงโปรแกรมการมาช่วยนักเรียน และ คนด้อยความสามารถครั้งนี้ เราก็ได้ ไอเดีย …

เราจะมากันเดือน กันยา…. พวกเราสรุปกันอย่างนั้น

(ยังมีต่อ)

========
ข้อมูล

http://khonkaen.kapook.com/%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2

ช่วยน้อง สอนเรา : การสำรวจ


1 Aug 2014
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พี่เชียร สันดาน สันจร คนที่ชอบหลอกให้ผมไปวิ่งทางวิบาก ให้รถเลอะเทอะ (และเป็นคนเดียวกับที่ชวนผมไปทำบุญช่วยคนที่แปดริ้วคราวที่แล้ว) โทรมาชวนผมไปขอนแก่น
“ไปทำไมเหรอพี่เชียร” ผมถาม เพราะ รู้สึกว่า ขอนแก่นไม่ไกล แต่ ไม่รู้มีอะไร

“ผมได้ทราบจากคนรู้จัก ว่า ที่ บ้านแวงน้อย ขอนแก่นโน่น มีคนป่วย คนที่ช่วยตัวเองไม่ได้อยู่ เลยอยากชวนพี่ป่องไปดู”… พี่เชียรบอก

“ผมไม่ไปได้เปล่าพี่ ช่วยอย่างอื่นเหอะ” ผมบอก เพราะ อยากไปทำอย่างอื่นมากกว่า “พี่ก็ลองดูว่า เค้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จริงๆ และ สมควรที่เราจะเข้าไปช่วยก็พอ” ผมบอก

“ไม่ได้ครับ พี่ป๋องต้องไป จะได้ช่วยกันดู” พี่เชียร ยืนยัน และ นั่นเป็นการนัดหมายของเรา

============================

ตีห้าครึ่งของวันศุกร์ เสียงโทรศัพท์ดังที่หัวเตียง ผมงัวเงีย ตื่นขึ้นมา คว้าโทรศัพท์

“พี่ป๋องงงง ตื่นหรือยางงงง ” เสียงพี่เชียร ดังมาตามสาย

“ตื่นเพราะเสียงโทรศัพท์นี่แหล่ะ…ทำไมโทรมาเช้าจัง นัดตั้ง เจ็ดโมงครึ่งไม่ใช่เหรอ” ผมงัวเงียต่อ เพราะเมื่อคืน นอนเกือบตีสอง

“ผมอาจจะไปหาเร็วขึ้นสักครึ่งชั่วโมง …เลยโทรมาปลุก” พี่เชียรบอก ผมเลยต้องลุก มาเตรียมของ

ผมล่วงหน้าจากกรุงเทพฯ มา โคราช เมื่อสองวันก่อน …โชคดี มี site งาน ทางสระบุรี กับ โคราชพอดี เลยจัดการเดินทางให้มาทำงาน ด้วย และ ก็มา สำรวจพื้นที่กับพี่เชียรด้วย … ตอนบอกพี่เชียรครั้งแรก พี่เชียรบ่นๆ เหมือนกัน แถมถามบ่อยๆว่า ทำไปโทรมาทีไร บอกแต่ว่า กำลังประชุม แกคงสงสัยว่า ประชุมกันตลอดเวลาเลยเหรอ แล้วจะเอาเวลาไหนทำงาน … เหอ เหอ ผมเลยกะว่า เวลาเหมาะๆ ค่อยอธิบายให้แกฟังอีกที

วันนี้คณะสำรวจเรา เป็นทีมงานจำเป็น เลยครับ แบ่งตำแหน่งงานกันเรียบร้อย ตั้งแต่ พี่เชียร แกตั้งตัวเอง ผู้จัดการ แกบอกว่า แกสั่งอย่างเดียว ไม่ทำ .. 555 พี่ โอเล่ เอา รถกะบะ สองตอนมาวิ่งรับส่งให้ พี่อ๊อด อันนี้เป็นหน่วยข้อมูลเลยครับ เก็บข้อมูลทุกอย่าง ผมเองที่ไม่ค่อยได้ทำอะไร แล้วก็ น้อง Sally ที่คอยบันทึกภาพ

การเดินทางวิ่งออกจากโคราช มาเกือบชั่วโมง แล้ว เลี้ยวออกจากทางหลักเข้าไป อีก 5 km ก็จะถึงที่ อ.แวงน้อย ตำบล.ละหานนา หมู่บ้านนี้ เข้าตำราว่า ชนบทได้จริงๆ ครับ แต่ก็ยังมีไฟฟ้าใช้ ไม่ถึงกับกันดาร มาก
เราแวะที่โรงเรียน ได้พบกับครูใหญ่ ครูเล็ก และ เด็กนักเรียนที่นี่ ที่มีอยู่ 90 คน ได้เห็นวิถีชีวิต และ ความเป็นอยู่ของเด็กๆ แล้ว นึกถึงตัวเอง วัยเด็ก …

ผมเองก็เคยเรียนหนังสืออยู่ต่างจังหวัด เคยตามแม่่ ไปตามถิ่นธุรกันดาร เคยสัมผัส ชีวิตบ้านนาแบบนี้ เลยทำให้วูบหนึ่งนึกถึงวันเก่าๆ

ตอนนี้มีชีวิตที่แตกต่างจากเดิม มีโอกาส ก็อยากทำอะไรกลับคืนไปบ้าง

ผมกับทีมงาน หารือกันว่า เราควรจะทำอะไรกันบ้างให้กับที่นี่ นอกเหนือจาก เป็นจุดหมายของการขี่รถหย่อนใจ อย่างที่เราทำๆ กัน โปรแกรมต่างๆ โดนจัดขึ้นมา คร่าวๆ ประมาณการกำลังกันแล้ว แผนงานก็โดนจัดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา…

ตอนเที่ยง เหล่านักเรียน เข้าแถวมารับอาหารกลางวัน นักเรียน นั่งทานกันกับพื้น เสียงสวดขอบคุณดังลั่น ก่อนลงมือจ้วงข้าวทานอย่างเอร็ดอร่อย … อาจารย์เชิญชวนพวกเราทานข้าวด้วย แต่ ต้องปฏิเสธ เพราะนัดกันไปทานที่ร้านในหมู่บ้าน เพราะนัดกับทาง ผู้ใหญ่บ้านมาคุยด้วย

ตอนบ่าย พวกเราตะเวณไปตามบ้านที่ผู้ใหญ่ พาไปดู แต่ละคนน่าสงสาร และ ่น่าเห็นใจ

พวกเรากลับมาเกือบมืด ร้อนจากไอแดด ความแห้งแล้งของอีสานช่่วงนี้ ทอนกำลังเราไปเยอะมากทีเดียว ..หลังจากนั่งหารือ กันถึงโปรแกรมการมาช่วยนักเรียน และ คนด้อยความสามารถครั้งนี้ เราก็ได้ ไอเดีย …

เราจะมากันเดือน กันยา…. พวกเราสรุปกันอย่างนั้น

และนี่คือ Clip วันที่ไปกัน

Album ภาพใน Facebook

https://www.facebook.com/narong.wonggasem/media_set?set=a.10152580638379326.1073742002.566784325&type=3